>

เป้าหมาย ภารกิจของ Search Engine

เป้าหมายของ เสิร์ชเอนจิ้น

หัวข้อนี้ เขาเริ่มประมาณว่า Internet มันฟรี และ คนต้องการค้นหาข้อมูลอยู่ตลอด แต่ Google ครองตลาดการค้นหาอยู่มากกว่า 90%

% ส่วนแบ่ง การใช้งาน Google ในตลาด เสิร์ชเอนจิ้น

Search Engine พยายามทำให้คนพอใจกับประสบการณ์ของผลการค้นหา โดย search engine จะแสดงผลที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราค้นหาอยู่บนผลลัพธ์ ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

บริษัท Search Engine ทั้งหลายลงทุนไปมากมายเพื่อพัฒนา ความเร็วของผลลัพธ์ และ ความเกี่ยวข้องอย่างใกล้เคียงที่สุด มีการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานอยู่เสมอ และมี เทคนิค Machine Learning เพื่อ Algorithms ส่วน Google Search ได้เงินจากการผลิตโฆษณา (PPC) โดยผู้จ่ายโฆษณาจะจ่ายเมื่อเกิดการ click จากผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุดในการค้นหา หากทำการหลอกลวง Google มันจะตรวจพบว่าเรามีพฤติกรรมเป็น Spam จะทำให้เราได้รับสิ่งที่แย่ลงไปอีก

เสิร์ชเอนจิ้น ได้จ้างทีมงานเพื่อมาปราบ Spam อย่างจริงจัง สำหรับนักทำ SEO ต้องระวังให้มาก บางอย่างที่จงใจเกินไป หรือ การกระทำบางอย่างอาจทำให้เข้าข่าย Spam ได้

ส่วนเรื่องสุดท้ายของหัวข้อนี้ เขาได้กล่าวถึงการครองตลาดของ Google ทั่วโลก แต่ไม่ใช่ใน จีน กับ รัสเซีย ซึ่งเป็นของ Baidu กับ Yandex ตามลำดับ

Goals of Searching: The User’s Perspective

เป้าหมายของการค้นหา – มุมมองจากผู้ใช้

หัวข้อนี้กล่าวถึง query หรือ คำค้นใน search box โดยผู้ใช้งานใช้การผสมคำค้นต่างๆ แล้วให้ เสิร์ชเอนจิ้นทำงาน ส่วนการค้นหานั้นมี “intent” (ซึ่งผมเองก็ให้ความสำคัญกับคำๆนี้มากเลยครับ) เพราะมันเป็นปัจจัยการออกแบบกลยุทธ์ทาง SEO และมีการกล่าวถึงจิตวิทยาการค้นหาของผู้ใช้งาน เพื่อเชื่อมโยงระหว่าง บริการ หรือ สินค้า ที่เราจะแสดงในเว็บ อีกคำนึงที่อยากให้ผู้อ่านศึกษาคือคำว่า “Query-based Search Engine” เสิร์ชเอนจิ้นพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายปี แต่หลักๆของการทำงานก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ตามหลักการดังต่อไปนี้

1) ประสบการณ์ของผู้ใช้งานต้องการ ข้อมูล ผู้ใช้งานอาจอยากค้นหาเว็บไซต์นั้นๆ (Navigational query) หรือเขาอยากจะเรียนรู้บางอย่าง (Information Query) หรือเขาอาจอยากจะซื้อบางอย่าง (Transactional query) เนื้อหาเหล่านี้จะกล่าวในบทถัดไป

2) ผู้ใช้งานให้การผสมคำ เป็นวลี (Search Term) ข้อมูลทางสถิติพบว่า 58.8% ใช้ความยาว 1-3 คำ ส่วนผู้ใช้งานที่เชี่ยวชาญเรื่องเว็บไซต์ อาจจะใช้คำค้นที่ยาวกว่านั้น

ความยาวของคำ ในการค้นหา search engine
https://www.researchgate.net/figure/Query-length-distribution_fig1_220320971

3) ผู้ใช้งานเริ่มใช้คำค้นเบื้องต้น แล้วได้ผลลัพธ์ แล้ว ผู้ใช้งาน ก็ปรับปรุงคำค้นอีกครั้ง

Determining User Intent: A Challenge for Saerch Maketers and Search Engine

เนื้อหาในหัวข้อนี้คือให้เราพยายามเข้าใจผู้ที่ทำการค้นหาข้อมูล เรียนรู้ว่าพวกเขาคิดอะไรอยู่ โดยใช้คำว่า “Empathy” และให้เราเข้าใจไว้ว่า Search Engine คือ เครื่องมือ เพื่อเป็นแหล่งป้อนไปสู่เนื้อหาต่างๆ การใส่คำค้นบน search box นั้นแตกต่างจากการใส่ url ใน Browser หรือการคลิกบน bookmark เพราะว่าคนที่ค้นหาเขาจะมี “intent” ว่าผู้ใช้งานอยากได้ข้อมูลอะไร เนื้อหาด้านล่างจะพูดถึง ประเภทต่างๆของการค้นหา คุณลักษณะ และ กระบวนการ

Navigational Queries

จะเป็น intent ที่ค้นหา เว็บไซต์นั้นๆ ให้เจอ มันเหมือนวิธีการค้นหาในสมุดหน้าเหลือง ดูตัวอย่างตามภาพ

navigational query
https://www.wordstream.com/blog/ws/2012/12/10/three-types-of-search-queries

สถิติ 70% Click บนอันดับแรกใน Branded queries

Company Brand มีคุณค่ามาก แต่อาจจะไม่ได้ new customers โดยหัวข้อนี้จะเหมาะกับคำค้นที่เป็นแบรนด์

Information Queries

หัวข้อนี้เขากล่าวถึงคำค้นแบบกว้างๆ เช่น พยากรณ์อากาศ, เส้นทางขับรถ, อาการของโรค, ข้อมูลสำหรับทำด้วยตนเอง Informational search มันคือ nontransactional-oriented การค้นหาเหล่านี้อาจรวมไปถึง สินค้า และ บริการ

Informational queries มักจะมี conversion ต่ำ แต่เหมาะกับการปั้น brand และการสร้าง link โอกาสคือ ทำให้คนรู้จักเรามากยิ่งขึ้น ทำให้นักเขียนนำเว็บเราไปโปรโมตต่อ ทำให้เกิดการสมัครสมาชิกในอนาคต ส่วนในเรื่องของ traffic ในหนังสืออธิบายว่าผู้ใช้งานอาจไม่พร้อมที่จะซื้อ คือให้เราทำ keyword ที่ลึกกว่าเข้ามาด้วย เพราะ user จะค้นหาและปรับคำค้นให้ลึกขึ้น แล้วอาจจะมาเจอเราอีก

Transactional queries

 

 

Transactional Queries

คำว่า Transactional Queries ไม่ได้หมายถึง การใช้ บัตรเครดิต หรือ ธุรกรรมทางการเงินแต่อย่างใด แต่อาจหมายถึง สมัครบัญชีใน Pinterest หรือ การสมัครใช้บริการฟรี ของ domain tool หรือการค้นหา ร้านอาหารอร่อยแนวญี่ปุ่น คำค้นเหล่านี้เกิด conversion สูง คุณค่าทาง traffic สูงมาก ผลของ transaction อาจไม่ได้เกิดในทันทีทันใด แต่มันสร้าง user rentention ให้คนกลับมาใช้ซ้ำๆได้สูง

Transactional queries
https://mirasvit.com/blog/three-types-of-search-queries-navigational-informational-transactional.html

Local Queries

อันนี้เป็นการค้นหาที่มีทำเลเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น จะซื้อพิซซ่าได้ที่ไหน, ที่จอดรถใหล้ที่สุด, การถามทาง สถานที่ซื้อสิ่งของต่างๆ หรือ การไปดูหนังในโรงหนัง โดย Local Queries เป็น subclass ของ queries อื่นๆทั้งสามตัวที่กล่าวมา และเกี่ยวข้องกับ transactional มากที่สุด โอกาสที่จะทำให้คนเดินเข้ามาหาเรามีสูง และเป็น keyword intent ที่สำคัญมีมูลค่าสูงอีกด้วย

วันนี้ขอ สรุปรีวิวถึงแค่นี้ก่อน หากท่านต้องการติดตามตอนต่อไป โปรด Add FB ของผมนะครับ >> Palawast Jeamsaard ผมจะส่งให้ทาง Message ครับ [Update 2023/12/13 : 6:39PM]

 

 

(1) อ่านบทก่อนหน้านี้ SEO Myths Versus Reality

(2) กลับไปหน้าหลักของ รีวิวหนังสือ The Art of SEO 4th Edition

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *