บทความนี้เป็นเรื่องของการทำ Organic Traffic Optimization เป็นการปรับสภาพโดยรวมของเนื้อหาเว็บไซต์ของเราให้เหมาะสมกับผู้ให้งานส่วนใหญ่ของเรา ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของ User Behavior Analysis
จากความเชื่อเดิมที่ Guru หรือ Internet Coaching ต่างๆ ให้ไอเดียว่า user จะเข้ามาเฉลี่ย 3 หน้า แล้วจะตัดสินใจซื้อ เขาเลยสอนให้เราทำเนื้อหาให้สั้นกระชับ ไม่ซับซ้อน และส่งเสริมการขายให้เร็วที่สุด อีกทั้งยังบอกว่า ลูกค้า ไม่มีเวลามานั่งอ่าน content ของเรา
จากความเชื่อนี้ ทำให้ทาง Search Monopoly ได้สร้างกลยุทธ์ ที่ไม่สนใจกับ trend จากพวก Guru ทางการตลาดออนไลน์ เพราะเรายังเชื่อว่า มี user อีกจำนวนหนึ่ง แม้จะน้อยกว่า แต่จะเป็น user ที่ชอบเข้ามาอ่านหา insight เยอะๆ ก่อนการตัดสินใจใช้บริการ
เรามีความเชื่อว่า การผลิตเนื้อหาที่มีประโยชน์สูงสุดให้กับผู้อ่าน จะยิ่งสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกว่าการสร้างเนื้อหาเพื่อเน้นการขายอย่างเดียว ซึ่ง Insight ที่น่าสนใจสำหรับเว็บให้บริการ (Service) แบบ B2B ของ Search Monopoly นี่เอง พบว่า user ไม่ได้เข้ามาลึกแค่ 3 ชั้นถึงจะมาเป็นลูกค้า แต่เราสามารถตรวจสอบ ยอด “Lead Conversion” ของเราได้ว่า user ที่เข้ามาอ่านเนื้อหาของเว็บเราจำนวน 17 บทความ จะมีโอกาสเกิน 50% ที่จะมาเป็นลูกค้าของเรา และจากการพูดคุยกับคนที่มาเป็นลูกค้า ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ทำ SEO มาอยู่ก่อนแล้ว และผ่านการใช้บริการจาก SEO เจ้าอื่นๆ มาหลายเจ้าแล้ว แต่ยังพบสิ่งที่ไม่ตรงกัยความมุ่งหวัง ซึ่ง Search Monopoly เป็นทางเลือกหนึ่งที่นำเสนอ Solution ที่ลูกค้าต้องการจริงๆ
บมความนี้เราจะมาแนะนำไอเดีย เทคนิคการปรับ SEO โดยวิเคราะห์ Impression และทำความเข้าใจ User Intent ต่างๆ ในหลายๆ Journey แล้วนำมาปรับปรุงเป็น site structure ที่เหมาะสมให้แก่ User Audiences ของเรามากที่สุด
หากคุณได้ทำความเข้าใจหลักการ การปรับโครงสร้างเว็บและปรับเนื้อหาให้เหมาะสม คุณจะพบว่า ไม่จำเป็นเลยที่ต้องเพิ่ม Organic Traffic จำนวนเยอะมากๆให้เข้ามาที่เว็บของเรา แต่ในหลายๆธุรกิจสามารถ เน้นคุณภาพเนื้อหา ที่อาจทำให้คนเข้าเว็บเราจำนวนน้อยๆ แต่สามารถสร้าง Conversion ได้มากกว่า และเร็วกว่าเว็บที่มี traffic จำนวนมากได้เช่นกัน นั่นคือเรื่องของความเป็นมืออาชีพ ความเป็นตัวจริงในตลาด และเหมาะสำหรับเว็บธุรกิจแบบ B2B หรือแนวบริการ Consulting ก็เป็นรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมมากๆเช่นกัน
การปรับ SEO เมื่อมีจำนวนบทความ เยอะๆ หลาย URL ทำอย่างไร
ให้เราใช้ Google Search Console ในการทำ report ในที่นี้หากเว็บเรามีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก เดือนละ 2-4 ครั้ง ให้เราทำการดึง Data ระยะ 16 เดือน แต่หาก เว็บไหนที่มีการ update หรือ post บทความต่อเดือน เกิน 30 ครั้ง แนะนำให้ใช้ data ระยะ 3 เดือนแทน
ให้เราทำการ sort data ใน Impression report ของ Google Search Console โดยให้จำนวน impression ของ url ที่มากที่สุด อยู่ด้านบน เนื่องจาก ส่วนแบ่งการทำการตลาดออนไลน์ หรือ การทำให้คนเป็นที่รู้จักเว็บเรา จะให้ความสำคัญของ Area ในส่วนของ Impression มากเป็นพิเศษ โดยเราอาจ rank โดยใช้เทคนิค 80-20 หรือ filter ที่ minimum 1,000 impression ได้เช่นกัน โดยการตัด URL ที่มี impression ตำกว่าเกณฑ์ออก เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา
หลังจากที่เรา sorting URL เรียบร้อยแล้ว ให้เราทำการ re-group site structure และออกแบบ internal link ในแต่ละบทความ หรือ หน้า single page หลักๆ เพื่อพัฒนาการ navigate ให้ดีขึ้น ให้ user สามารถเข้าถึง content ที่เขาต้องการ และได้ประโยชน์จากเนื้อหาที่เราพัฒนามากที่สุด โดยเราควรให้ priority กับ URL ที่มี impression มากๆ และ อันดับยังทำได้ไม่ดีนัก ให้เราเลือกมาทำเป็น target keyword หลักๆสำหรับเว็บของเรา
พยายามเข้าใจ Journey และ User Intent ให้มากๆ ทำการ test user flow ในหลายๆการทดสอบ ตรงจุดนี้ใช้ระยะเวลานานมากๆ และต้องมีความเข้าใจศาสตร์ของ UX และ พฤติกรรมการใช้งาน ควรศึกษา user behavior ในหัวขอ design user journey by using Traffic Optimization
การปรับ Internal Link ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ควรมีการ track จำนวน click ของ Internal link ด้วย การปรับปรุง Internal link มีผลต่อการ Impact ของ overall Search Ranking สำหรับ Organic Traffic โดยเฉพาะเว็บข่าว จะมีการปรับปรุง Internal Link อยู่อย่างเป็นประจำ อย่างน้อย 3 เดือน 1 ครั้ง
สำหรับเว็บทั่วๆไป หากมีปริมาณ Impression ต่อเดือน หลัก 200,000 Impression นั่นจึงควรพิจารณาการปรับ Internal Link ให้เหมาะสมกับการใช้งานของ User ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแตกหัวข้อ Useful Content เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการปรับ Internal Link
แล้วแต่เทคนิคของแต่ละบุคคล การทำ SEO หากไม่มีเวลาปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาให้ทำอันดับได้สูงทุกๆ keywords หรือทุกๆหน้า เราจำเป็นต้องตัด content ที่ทำอันดับได้ไม่ดี ออกไปจาก Flow บนๆของเว็บไซต์ และให้ focus เฉพาะ url ที่สามารถทำ click ได้เป้นจำนวนมากไว้ก่อน แต่ก็อย่าทอดทิ้ง keyword ที่เราทำได้ไม่ดี อันนี้ให้เรา set ไว้เป็น priority รองๆได้
เมื่อเราทำการปรับปรุงโครงสร้างเว็บ และทำ internal link ที่ดียิ่งขึ้น ก็ให้เราทำเนื้อหาที่มีคุณภาพ ใส่เข้าไปในเว็บไซต์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้นึกถึง topic ที่เป็น useful content สำหรับ audience ของเรามากที่สุด แล้วจึงนำเสนอเข้ามาสู่ Sell Page หลักของเราได้
แหล่งข้อมูล
[1] https://userpilot.com/blog/user-behavioral-analysis/ ; UX process
[2] https://ieeexplore.ieee.org/abstract/document/7933069 ; Journal for E-Commerce Website
Leave a Reply