Fig 01 : Fanpage Karma graph แหล่งภาพ : http://www.thismoment.com/content-marketing-blog/content-marketing-interaction/
ภาพนี้ แสดงให้เห็นถึง สิ่งที่เราคุ้นชินใน Facebook นะครับ และหากคุณสังเกตดีๆ คุณจะพบว่า สังคม โลกของการมีตัวตนใน Social Media เป็นโลกที่เปิดกว้างมาก
[sociallocker id=”685″]
ทุกๆคนสามารถแสดงอารมณ์ โดยอยู่หลังม่านฉากได้ เป็นเรื่องของ Social ที่ทุกๆคนอยากแสดงตัวตนอยากแสดงความเห็น และสนใจเรื่องราวที่เป็น Trend ฉนั้น การกระตุ้นหรือเร้าด้วยอารมณ์ หรือ เร้าด้วย ศาสตร์ของความเชื่อต่างๆ มันจึงสามารถเรียก ยอด Like ยอด Share ได้เป็นจำนวนมากมายใน Facebook ทีนี้ การวางแผน และกลยุทธ์ ด้านการจัดวางเนื้อหา หรือ Content Strategy ก็ต้องมีด้วยครับ เราควรรับรู้ถึง Signal ของการ ปั้นอารมณ์ ของ Fanpage ใน Page ของเราอย่างไร ให้มันกระจายไปเป็น ลูกโซ่ต่อๆกัน เราจะเห็นได้ชัดพวก Social Idol ที่มักเอา ประเด็น ที่มีความขัดแย้ง และเรียกคะแนนสงสาร หรือต่อต้าน อย่างเช่น การเมือง หรือ ช่วยหมาแมว ที่เจ็บทุกข์ได้ยาก หรือแม้แต่ การเอา ความเชื่อประหลาดๆ เช่น จิ้งจง สามหาง มาแชร์ เพื่อหลอกให้กด กด Like หรือ กด Share แล้วจะโชคดี
แต่สิ่งที่ผมถามกลับนะครับ – การกระทำพวกนี้ มันยั่งยืนแค่ไหน ?? ลูกค้าของเราจริงๆ มีตัวตนเป็นอย่างไร ?? เมื่อไหร่ เขาจะตัดสินใจซื้อ สินค้าของเรา ?? ปัจจัยขึ้นอยู่กับอะไรกันแน่ ??
การได้ยอด Share ยอด Like ทาง Facebook มักมาจาก ความจัดจ้าน ฝีไม้ลายมือ ทางการยั่ว อารมณ์ และกระตุ้นความคาดหวังต่างๆนานาครับ อันนี้จะเขียนทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่อง Habit Loops เพื่อให้คุณเข้าใจหลักการของการขายของทางเฟสบุ๊คมากขึ้นไปอีกครับ
เมื่อลองเข้าไปอ่านศึกษาในบทความ
http://www.thismoment.com/content-marketing-blog/content-marketing-interaction/ Proof That Emotional Connection Is The Key To Content Marketing Interaction ของ Jason Falls มีเนื้อหาที่น่าสนใจ และได้ข้อสรุป หลายๆอย่างที่ตรงกับประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมทำงานอยู่เลยครับ ในฐานะที่ทำ Analysis Web หลายๆ Products ทั้งในไทย และ ต่างประเทศ โดยเฉพาะเว็บข่าว หรือเว็บเชิง Content Marketing ทั้งหลายแหล่นั้น จะเข้าใจหลักการของการเล่น Emotion เหล่านี้ได้ดีมาก ๆ ที่ผมสังเกตุ พฤติกรรมของคนใช้งานใน Facebook จะเป็นพวก โดยเฉพาะคนไทยเนี่ยแหละครับ จะเป็นพวกเล่นเน็ต แบบหูเบาเสียด้วย เพราะอาการทึกทักไปเอง โดยเน้น Emotion และ Bias ส่วนตัวอันนี้ เป็นจุดอ่อนของคนไทย สังคมไทย ที่มีความเชื่อในเรื่องของ คำว่า "ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่" หรือ "ฟังหูไว้หู" สังคมเรา เป็นอุดมคติ ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ เนื้อหา เชิง ข้อเท็จจริง หรือ การเรียนรู้ ที่เน้นประสบการณ์ตรง และ ไม่ใช่พวกที่ริเริ่มทำอะไรด้วยตนเอง มักเป็นพวกที่มีค่านิยม Follow ตาม Trend ชาวบ้านที่กำลัง ไฟลุกลามทุ่งแบบนั้น เป็นต้น เหล่าคนที่เห็น และสังเกตเห็น ความเป็นไป ในวัฏจักร ของโลก Social ในไทย ก็นั่นแหละครับ เข้ามา กินส่วนแบ่งตลาดที่เรียกว่า ต้นขั้วของการ Follow เป็นต้นน้ำให้ Social Follow ตาม
ความสนุก และ การกระตั้น ให้รู้สึกโกรธ จะเรียก Share ได้มากกว่า การกระตุ้น ความรู้สึก เศร้า หรือ กลัว
แต่ว่า Fear หรือ ความกลัว นั้นแหละ ที่สร้าง Rate ของจำนวน Share โดยรวม หรือเรียกการกระตุ้นทางอารมณ์ได้สูงมากเลยทีเดียว
ส่วนเรื่องของความโกรธนั้นจะเรียก Comments ได้มากกว่า เหมือนกับมันเป็นเรื่องของการขัดผลประโยชน์ หรือ เป็นเรื่องของความอยากระบายออกมาจากความโกรธนั้นๆ
ไม่แปลกเลย ทำไม่ Topic ที่มัน Drama และมี ปัจจัย ความขัดแย้ง (Controversy) จึงสร้าง Viral Signal ได้ดีทีเดียว
[แหล่งที่มา]
http://www.thismoment.com/content-marketing-blog/content-marketing-interaction/
http://blog.fanpagekarma.com/2014/10/27/emotion-facebook-social-media-interaction/
[/sociallocker]